หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คอมสำเร็จรูป(คอมแบรนด์) VS คอมประกอบ


 มีคนInboxมาถามกันอยู่บ่อย ให้ช่วยเลือกคอมซักเครื่อง จะเอาแบบไหนดี แบบนี้ดีไหม วันนี้ผมก้อเลยมาไขข้อข้องใจเพื่อนๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ แบบคนไม่มีความรู้ ก็สามารถเอาไปใช้งานได้กันครับ

  • คอมที่เราซื้อใช้แบบDesktop นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2แบบ 
  • แบบแรกเป็นแบบสำเร็จรูป หรือที่เรียกกันติดปากว่าคอมแบรนด์

หน้าตาคอมแบรนด์ก็เป็นแบบนี้

  • ถ้าจะหาคำจำกัดความของคอมแบรนด์ ก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ทางบริษัทผู้ผลิต ผลิตขึ้นมาเองหรือไปจ้างSupplier ผลิตในชิ้นส่วนบางชิ้นแล้วนำมาประกอบ ตีตราเป็นของบริษัทตนเอง อย่าง Acer Hp Dell Lenovo ฯลฯ 


  • คอมพวกนี้จะมีข้อดีที่ว่า 
  • หาซื้อง่าย ไม่ต้องมีความรู้เรื่องคอมเท่าไหร่ก้อสามารถซื้อได้
  • ส่วนประกอบด้านในก็ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเข้ากันได้ไหม เพราะทางบริษัทผู้ผลิตต่างก็จัดการส่วนนั้นมาให้แล้ว
  • เหมาะสำหรับบริษัท ขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ยังไม่มีส่วนงาน IT 
  • เวลาเสียจะมีบริการ Onsite Service แถมมาให้ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องตามช่างซ่อม

  • ส่วนข้อเสียที่แถมมาด้วยก็มี
  • ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคอมประกอบเอง
  • มีข้อจำกัดในสเปคที่ผู้ใช้ต้องการ
  • อุปกรณ์บางตัวไม่ได้มาตราฐาน เราไม่สามารถเปลี่ยนได้ เพราะเค้าประกอบมาให้แล้ว
  • การรับประกันสินค้าแบบเหมารวมทุกอุปกรณ์จะอยู่ประมาณ1-3ปี ต่างกับคอมประกอบที่อุกปรณ์แยกส่วนประกันเป็นชิ้นๆไป ซึ่งบางตัวประกันอาจจะยาวนานตลอดอายุการใช้งานเลยก็ได้
  • เวลาคอมเสียแล้วจำเป็นต้องใช้จริงๆ จะยกไปซ่อมตามร้านธรรมดาไม่ได้ เพราะจะมีสติกเกอร์ วอย ติดทับในส่วนที่ช่างต้องถอดออกดู ถ้าสติกเกอร์ในส่วนนี้ชำรุดเสียหาย ถือว่าขาดประกันทันที


  • เป็นไงบ้างครับคงพอเข้าใจกันบ้างแล้วนะครับ คราวนี้มาดูในส่วนของคอมประกอบกันบ้าง

คอมประกอบ

  • แบบที่2เป็นคอมประกอบ นิยามของคอมประกอบก็คือคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถนำสิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบรวมกัน ให้ได้ตามอย่างที่เราคิดไว้ได้มากที่สุด



  • ข้อดีของคอมประเภทนี้ก็คือ
  • มีราคาค่อนข้างถูกถ้าเทียบกับคอมแบรนด์
  • สามารเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างอิสระ ไม่ชอบใจชิ้นไหน ก็ไม่เอาหรือชอบใจชิ้นไหนก็ใส่เข้าไป
  • มีระยะประกันของอุปกรณ์แยกเป็นชิ้นๆไป
  • เสียยกซ่อมได้แบบง่ายๆ ไปร้านคอมไหนก้อได้
  • ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสเปคการใช้งาน สามารถเลือกประกอบได้จากราคาไม่ถึงหมื่น จนถึงหลักแสน



  • มาดูข้อเสียของคอมประกอบกันบ้าง
  • ต้องมีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์ต่างๆที่จะนำมาประกอบกันเป็นอย่างดี
  • การทำงานของอุปกรณ์บางตัวไม่เข้ากัน ทำให้เกิดอาการรวนได้ พูดถึงข้อนี้ต้องขอบอกเลยว่าอยู่ที่ช่างหรือคนที่จัดชุดประกอบคอมนั้นๆให้ไม่มีความรู้มากพอ
  • เลือกอุปกรณ์ประกอบไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้พังง่ายหรือ มีปัญหาการใช้งานบ่อยๆ
  • ไม่มีบริการOnsite ต้องยกไปร้านเองเวลาคอมเสีย

เป็นอย่างไรบ้างครับ ชั่งน้ำหนักตัดสินใจได้กันบ้างไหม ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราจะซื้อต่อไปควรซื้อแบบไหนดี สุดแล้วแต่ความสะดวกในการซื้อครับ อย่างน้อยบทความนี้คงมีส่วนให้เราเข้าใจเพิ่มขึ้นได้บ้างไม่มาก็น้อยครับ

    เป็นกำลังใจให้บทความโดยการกดถูกใจ และคิดว่าบทความมีประโยชน์ก็แชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ





วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การตั้งค่า DATA USAGE บนโทรศัพท์ Android 5.0ขึ้นไป


  เมื่อวานนี้มีพี่ชายถามผมมาว่า จะทำอย่างไรให้Data usage ไม่ขึ้นโชว์ ผมก้อตอบแบบง่ายไปว่า ก้อปิดมันซิ มันก้อไม่โชว์แล้ว แต่ลองๆมาคิดดูว่า เราจะอธิบายอย่างไรให้พี่เค้าเข้าใจ วันนี้ผมก้อเลยเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้งาน Data usage มันเอาซะเลย

  ถามว่าเจ้าData usage นั้นคืออะไร ทำงานแบบไหน ทำไมมันถึงชอบเด้งมาเตือนบนหน้าจอเราเสมอๆว่า Internet ของเราครบจำนวนที่ตั้งไว้แล้ว

  •  ผมจะพูดเป็นข้อๆนะครับ Data usage มันเป็นfeatureหนึ่งของGoogle ที่มีมาให้ เจ้าโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android น่าจะตั้งแต่4.0 ขึ้นไปแล้วครับ
  •  Google จัดทำมันขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการกำหนดอัตราการใช้งาน Internet บน ระบบปฏิบัติการ  Android พูดง่ายๆว่าตั้งLimit หรือปริมาณข้อมูลที่เราจะให้มันควบคุมนี่ล่ะ

อย่าลืมตั้งวันที่ให้มันนะครับ
  • สมมติว่า เราซื้อPackage Internet แบบราย7วัน เค้าให้ Internet เรามา 1Gb เราก็เข้าไปตั้ง Limit หรือ ปริมาณข้อมูล เป็น 1Gb แล้วเราก้อตั้ง การเตือน(warning) ให้มันไปซัก 900Mb ในวันที่เปิดใช้งาน Package นั้นๆ
  • ผลที่ได้ก็คือ เมื่อเราใช้ Internet ไปจนครบ 900Mb ตามปริมาณที่เราตั้งค่าไว้บน Data usage ระบบ มันจะแจ้งเตือนเราว่า ปริมาณInternet ครบตามปริมาณที่เราตั้งเตือนแล้ว แต่ถ้าใช้งานไปจนครบ 1 Gb แล้วนั้น มันก้อจะเตือนอีกรอบว่า Inernet ของเราได้ครบปริมาณการตั้งค่าLimit ไว้แล้ว เราจะใช้งานต่อหรือไม่
  • เป็นแบบนี้เราก้อไม่ต้องกังวลใจว่า เราจะใช้ Internet เกินPackageไหม? เน็ตหมดหรือยัง? จะต้องเติมเน็ตเมื่อไหร่?

ของผมใช้งาน Google Chrome ค่อนข้างเยอะ

  • นี่เป็นหนึ่งในข้อดีที่ Data usage นั้นทำให้เรา แต่อีกหนึ่งความสามารถที่มันทำได้ และค่อนข้างมีประโยชน์มากก็คือ การจำแนก ปริมาณการใช้งานของ Appication ต่าง บนมือถือของเรา ให้เราสามารถ รู้ และควบคุมมันได้
  •  อย่างเช่น เรามักจะมีคำถามกับตัวเองเสมอว่า เอ้ทำไมเพิ่งเติมเน็ตไป ทำไมหมดเร็วจัง? หรือ เราก้อไม่ได้ทำอะไรนะ ทำไมถึงเน็ตหมด? ที่นี้เราก้อจะคลายสงสัยได้แล้วว่า เน็ตเราหายไปไหน Appicationไหน บนเครื่องที่ใช้ปริมาณข้อมูลเยอะๆ เราอาจเลี่ยง หรือ ใช้งานมันให้น้อยลง

ติ๊กตรง Set mobile data limit ก็ปิดมันได้แล้ว
  • หรือถ้าใครยังไม่เห็นประโยชน์ของมันหรือ ยังไม่อยากใช้งานก้อไปตั้งปิดมันได้ ที่ปุ่ม Set Mobile data limit
  • เป็นไงครับ หายสงสัยกันแล้ว ขอให้สนุกกับการใช้งานมือถือของท่านนะครับ

  • ถูกใจในบทความกรุณากดถูกใจเป็นกำลังใจให้คนเขียนด้วยครับ